ผู้เขียนใช้มโนทัศน์วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) วิเคราะห์ตัวบทตำนานท้องถิ่นภาคใต้ ฮิกายัตชายแดนใต้/มาเลเซียตอนเหนือ และตำนานผสมผสานระหว่างคติพุทธ ฮินดู และคติมลายู ในฐานะตัวบททางวัฒนธรรม (cultural text) โดยสร้างคำอธิบายผ่านแนวคิดเรื่องวาท กรรมอำนาจของของนักคิดกลุ่มหลังสมัยใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตำนานท้องถิ่นหาใช่แค่เพียงนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาเพื่อความบันเทิงหรือสื่อเนื้อหาสาระแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่และเครื่องมือในการต่อสู้ช่วงชิงการนิยามความหมายตัวตนทางวัฒนธรรมและการเมืองของคนภาคใต้ในอดีต
ยังไม่มีรายการแสดงความคิดเห็น