รายละเอียดหนังสือ

โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้

หนังสือทั่วไปภาษาไทย 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์
030156
9789741331291
Friends of foes, The unkown story of Yodia and Ayutthaya dynasty from a Burmese perspective
ฮาร์ท, มิคกี้
กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ,2559.
221 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.
959.1 ฮ359ย 2559
มิกกี้ ฮาร์ท ได้(พยายาม)อธิบายเหตุการณ์ที่ปรากฏในพงศาวดารไทย เปรียบเทียบกับพงศาวดารของฝ่ายพม่าฉบับต่างๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถูก"บุเรงนอง"นำไปหงสาวดีในสถานะ"องค์ประกัน" หนังสือเล่มนี้ นักเขียน(ชาวพม่า) พยายามอธิบายถึง"โยเดีย" หรือ "อยุธยา" ในเอกสารของพม่า ผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี ผู้เขียนที่(ยืนยันว่าเป็น)ชาวพม่า ...ตั้งประเด็นน่าสนใจตั้งแต่"คำนำ" ที่ว่า "...แรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเห็นนักท่องเที่ยวคนไทยคนหนึ่งไปเที่ยวประเทศพม่า เพื่อจะไปไหว้พระทำบุญให้เกิดสิริมงคล แต่พอลงจากเครื่องบินเหยียบแผ่นดินพม่าครั้งแรก เขาก็ใช้เท้ากระทืบแผ่นดินสามครั้ง ข้าพเจ้าถามว่าทำไม เขาตอบว่า มันเคยเผาบ้านเผาเมืองกู กูจะแช่งให้มันจมดินไปเลย (คงลืมไปว่าจะมาทำบุญ ?) หรือกลุ่มคณะทัวร์ไทยไปเที่ยวพระราชวังพระเจ้าบุเรงนองที่หงสาวดี ประเทศพม่า เมื่อไปถึงก็เกิดอาการของขึ้นทันที พุ่งเข้าไปทำลายต้นไม้ประดับและสวนดอกไม้ที่อยู่รอบ ๆ พระราชวัง ใช้เท้ากระทืบพระตำหนักไม่หยุดเลย เจ้าหน้าที่ดูแลพระราชวังออกมาขอร้องก็ไม่หยุด สุดท้ายเจ้าหน้าที่สั่งเด็ดขาดให้มัคคุเทศก์ของบริษัททัวร์นำคณะออกไปจากพระราชวังทันที มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย ข้าพเจ้าเห็นแล้วก็นึกเสียใจยิ่งนัก ...อีกเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยพบหลายครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยพม่า เล่าให้ฟังว่า พวกเขาพี่น้องท้องเดียวกัน แต่กลับถือคนละสัญชาติ เพราะวันดีคืนดีผู้มีอำนาจก็มาตีเส้นแบ่งเขตและแบ่งชาติ ปัจจุบันตระกูลของสองพี่น้องนี้กลายเป็นคนละชาติ อยู่กันละฟากไปแล้ว ไม่รู้จักกันยังไม่พอ ถือเป็นศัตรูกันโดยปริยาย เพราะเรื่องราวของสองชาติที่ไม่ค่อยจะลงรอยกัน..." แน่นอนว่า หนังสือเล่มนี้"น่าสนใจ"เพราะเป็นการอธิบายประวัติศาสตร์(ไทย)ผ่านมุมมองของนักประวัติศาสตร์ชาวพม่า ที่ผมชอบ คือการอธิบายเรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมัยพำนักที่กรุงหงสาวดี การชนไก่กับพระมหาอุปราชไปจนถึงทรงยุทธหัตถีกัน จากนั้น ก็เป็นเรื่องของ"พระสุพรรณกัลยา" หรือ"พระสวน" ในสถานะ"เจ้าหญิงพิษณุโลก" ผ่านประวัติศาสตร์ฝั่งพม่า ที่อาจจะ"แตกต่าง"จากประวัติศาสตร์ฝั่งไทย " ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เรา (หมายถึงคนที่อาศัยอยู่ภูมิภาคอาคเนย์นี้) ต้องลุกขึ้นมาพิจารณา ศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่ว่า สงครามในประวัติศาสตร์คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และคนโบราณเขาเกลียดชังกันจริง ๆ หรือไม่ หรือรบไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพเท่านั้น หากเขาไม่ได้เกลียดชังกัน แล้วทำไมเราซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่จะต้องเกลียดชังกัน ให้อดีตผ่านไป นำชัยชนะเป็นเครื่องเตือนใจมิให้ฮึกเหิม ส่วนการพ่ายแพ้หรือสูญเสียก็เป็นบทเรียนเตือนใจมิให้ผิดพลาดซ้ำ จะไม่ดีกว่าหรือ ... "

ยังไม่มีรายการแสดงความคิดเห็น

มิกกี้ ฮาร์ท ได้(พยายาม)อธิบายเหตุการณ์ที่ปรากฏในพงศาวดารไทย เปรียบเทียบกับพงศาวดารของฝ่ายพม่าฉบับต่างๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถูก"บุเรงนอง"นำไปหงสาวดีในสถานะ"องค์ประกัน" หนังสือเล่มนี้ นักเขียน(ชาวพม่า) พยายามอธิบายถึง"โยเดีย" หรือ "อยุธยา" ในเอกสารของพม่า ผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี ผู้เขียนที่(ยืนยันว่าเป็น)ชาวพม่า ...ตั้งประเด็นน่าสนใจตั้งแต่"คำนำ" ที่ว่า "...แรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเห็นนักท่องเที่ยวคนไทยคนหนึ่งไปเที่ยวประเทศพม่า เพื่อจะไปไหว้พระทำบุญให้เกิดสิริมงคล แต่พอลงจากเครื่องบินเหยียบแผ่นดินพม่าครั้งแรก เขาก็ใช้เท้ากระทืบแผ่นดินสามครั้ง ข้าพเจ้าถามว่าทำไม เขาตอบว่า มันเคยเผาบ้านเผาเมืองกู กูจะแช่งให้มันจมดินไปเลย (คงลืมไปว่าจะมาทำบุญ ?) หรือกลุ่มคณะทัวร์ไทยไปเที่ยวพระราชวังพระเจ้าบุเรงนองที่หงสาวดี ประเทศพม่า เมื่อไปถึงก็เกิดอาการของขึ้นทันที พุ่งเข้าไปทำลายต้นไม้ประดับและสวนดอกไม้ที่อยู่รอบ ๆ พระราชวัง ใช้เท้ากระทืบพระตำหนักไม่หยุดเลย เจ้าหน้าที่ดูแลพระราชวังออกมาขอร้องก็ไม่หยุด สุดท้ายเจ้าหน้าที่สั่งเด็ดขาดให้มัคคุเทศก์ของบริษัททัวร์นำคณะออกไปจากพระราชวังทันที มิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย ข้าพเจ้าเห็นแล้วก็นึกเสียใจยิ่งนัก ...อีกเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยพบหลายครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยพม่า เล่าให้ฟังว่า พวกเขาพี่น้องท้องเดียวกัน แต่กลับถือคนละสัญชาติ เพราะวันดีคืนดีผู้มีอำนาจก็มาตีเส้นแบ่งเขตและแบ่งชาติ ปัจจุบันตระกูลของสองพี่น้องนี้กลายเป็นคนละชาติ อยู่กันละฟากไปแล้ว ไม่รู้จักกันยังไม่พอ ถือเป็นศัตรูกันโดยปริยาย เพราะเรื่องราวของสองชาติที่ไม่ค่อยจะลงรอยกัน..." แน่นอนว่า หนังสือเล่มนี้"น่าสนใจ"เพราะเป็นการอธิบายประวัติศาสตร์(ไทย)ผ่านมุมมองของนักประวัติศาสตร์ชาวพม่า ที่ผมชอบ คือการอธิบายเรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมัยพำนักที่กรุงหงสาวดี การชนไก่กับพระมหาอุปราชไปจนถึงทรงยุทธหัตถีกัน จากนั้น ก็เป็นเรื่องของ"พระสุพรรณกัลยา" หรือ"พระสวน" ในสถานะ"เจ้าหญิงพิษณุโลก" ผ่านประวัติศาสตร์ฝั่งพม่า ที่อาจจะ"แตกต่าง"จากประวัติศาสตร์ฝั่งไทย " ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เรา (หมายถึงคนที่อาศัยอยู่ภูมิภาคอาคเนย์นี้) ต้องลุกขึ้นมาพิจารณา ศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่ว่า สงครามในประวัติศาสตร์คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และคนโบราณเขาเกลียดชังกันจริง ๆ หรือไม่ หรือรบไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพเท่านั้น หากเขาไม่ได้เกลียดชังกัน แล้วทำไมเราซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่จะต้องเกลียดชังกัน ให้อดีตผ่านไป นำชัยชนะเป็นเครื่องเตือนใจมิให้ฮึกเหิม ส่วนการพ่ายแพ้หรือสูญเสียก็เป็นบทเรียนเตือนใจมิให้ผิดพลาดซ้ำ จะไม่ดีกว่าหรือ ... "
ลำดับ เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1 959.1 ฮ359ย 2559
BK60003061
ห้องสมุดกลาง ชั้นวาง